Wellcome to Gonggoicity ยินดีต้อนรับสู่บ้านกองก๋อยซิตี้

กองก๋อยซิตี้ของคนรักบ้านเกิดและคนรักกองก๋อย

การปรากฎของกะเหรี่ยงในโลกของยวนและสยาม

กะเหรี่ยงเริ่มแสดงบทบาทสำคัญต่อยวนที่ปกครองไทยตอนเหนือในระหว่างหลายปีที่ปั่นป่วนเมื่อสิ้นสุดคริสตวรรษที่ 18 บทบาทอย่างหนึ่งถูกแสดงโดยกะเหรี่ยงเหล่านั้น ซึ่งบรรลุผลในการก่อร่างระเบียบแบบแผนเล็กๆของคะเรนนีในบริเวณที่เป็นรัฐคะยาห์ของพม่าปัจจุบัน ระเบียบแบบแผนของคะเรนนีหรือกะเหรี่ยงแดงเหล่านี้และลักษณะพิเศษของคันธรวดีหรือคะเรนนีตะวันออกเป็นความสำคัญต่อยวน

เนื่องจากความมีอิทธิพลทางการเมืองของพวกเขาในบริเวณแถบชายแดน และยังด้วยเพราะว่าความสำคัญทางเศรษฐกิจของพวกเขาในธุรกิจการค้าไม้สัก และ “แรงงานทาส” กะเหรี่ยงอื่นๆ กลุ่มหลักอย่างสกอว์และโปว์รวมทั้งจำนวนเล็กๆของคะยาห์ ได้ตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่อยู่ภายในอาณาเขตของผู้ปกครองชาวยวน ชาวกะเหรี่ยงเหล่านี้ได้มามีอิทธิพลบริเวณพื้นที่สูงทางตะวันตกส่วนของลานนาไทยอาณาเขตภายใต้การปกครองของเชียงใหม่ นอกจากนี้พวกเขายังได้พัฒนาบทบาทพิเศษเฉพาะในการค้าไม้สัก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญทางเศรษฐกิจต่อผู้ปกครองของไทยตอนเหนือ

ในปี 1764 กองทัพพม่าภายใต้กษัตริย์ Hsinbyunshin ได้ยึดครองเชียงใหม่ เมืองหลวงชาวยวนของอาณาเขตภายใต้การปกครองที่เรียงอยู่ในหุบเขาแม่ปิง ด้วยเหตุนี้พม่าได้บรรลุผลในการนำเอาไทยตอนเหนือมาอยู่ภายใต้อำนาจพม่าได้มากที่สุดอีกครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่ายวนจำนวนมากได้ต่อต้านการครอบงำของพม่าก็ตาม แต่กลุ่มอื่นจำนวนมากยอมรับมัน; ยวนเกณฑ์กำลังพลอยู่ในระหว่างที่กองทัพทหารพม่ายึดครองและทำลายอยุธยาเมืองหลวงสยามในปี 1767

จนกระทั่งการต่อต้านพม่าที่พื้นฐานการสนับสนุนในไทยตอนเหนือฟื้นคืนสยามขึ้นใหม่ภายใต้การนำของพระเจ้าตากสิน ซึ่งส่งกำลังทหารไปยังไทยเหนือในปี 1771 รวมทั้งยังต้องการที่จะขจัดดินแดนพื้นที่อิทธิพลควบคุมของพม่า ซึ่งพระเจ้าตากสินยังต้องการที่จะทำให้ยวนอยู่ภายใต้การปกครองของสยามด้วย

ผลที่ติดตามการสู้รบในไทยเหนือคล้ายคลึงการสู้รบก่อนหน้านี้ระหว่างพม่าตอนบนกับตอนล่าง ซึ่งได้เคยอธิบายในกรอบของชาติพันธุ์มาเป็นเวลานาน นั่นคือมันเคยถูกมองเห็นเหมือนกับการสู้รบระหว่างชาวไทในด้านหนึ่ง-นั้นคือสยามกับยวน-ตรงกันข้ามกับพม่าในอีกด้าน อย่างถูกต้องมากกว่ามันเป็นการต่อสู้ระหว่างสองราชอาณาจักรที่เรืองอำนาจ มากไปกว่าข้อสงสัยที่จะควบคุมกลุ่มหนึ่งใดของอาณาเขตภายใต้ปกครองโดยเฉพาะ การต่อสู้ดำรงอยู่โดย ไม่ได้จำกัดความหมายต่อไทยเหนือ แต่ขยายไปสู่ลาวในปัจจุบันนี้ และบริเวณที่เป็นรัฐชานในปัจจุบัน

ในกรณีของยวนนั้น ผู้ปกครองท้องถิ่นบางคนที่กำลังรวมผู้ปกครองเชียงแสน ซึ่งอาณาเขตปกครองถูกตั้งในตอนเหนือจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน และผู้ปกครองของ Fang ซึ่งควบคุมบริเวณพื้นที่ตอนเหนือจังหวัดเชียงใหม่ และสืบต่อการรักษาความภักดีของเขาต่อราชบัลลังก์พม่า ส่วนผู้ปกครองในอาณาเขตของน่านและแพร่ในน่านตอนบนและหุบเขายวมได้พยายามติดตามนโยบายเป็นกลางและคาดหวังว่าพวกเขาจะไม่ได้รับความสนใจ มันอยู่ในหุบเขาปิงและวังที่การสู้รบเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1770

ในปี 1774 กองกำลังยวนภายใต้การนำของผู้ปกครองเมืองลำปางได้เข้าร่วมกับกองทัพสยามที่ส่งไปโดยพระเจ้าตากสิน ได้ประสบความสำเร็จในการตีเมืองเชียงใหม่ อย่างไรก็ตามการทำสงครามได้ทิ้งเมืองที่เกือบทั้งหมดในซากปรักหักพัง ตามมาด้วยการยึดเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าตากสินได้แต่งตั้งผู้ปกครองชาวยวนสองคน ทั้งคู่เป็นผู้ที่จะได้รับความสำคัญในเรื่องราวที่กำลังปรากฎของกะเหรี่ยงในโลกของยวน ข้าบ้าน (Ca Ban) ลูกชายของทิพช้าง ( Thip Chang) แห่งเมืองลำปางได้รับตำแหน่งพระยาเมืองเชียงใหม่ในหุบเขาแม่ปิง กาวิละ (Kawila) ซึ่งเป็นหลานชายของข้าบ้านและเป็นเหลนของทิปช้าง ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองของลำปางในหุบเขาแม่วัง พระเจ้าตากสินยังได้แต่งตั้งตำแหน่งเหมือนกับอุปราชหรือผู้แทนการปกครองของเมืองเชียงใหม่คนหนึ่งชื่อค้อนเคียว (Kon Kaeo) ซึ่งเป็นหลานชายอีกคนของข้าบ้านและเหลนของทิพช้าง ก้อนแก้วที่ปรากฎขึ้นได้จัดเตรียมการเชื่อมโยงในพัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างกะเหรี่ยง-ยวนเป็นคนแรก

ค้อนเคียวสามารถพิจารณาได้ว่ามีอิทธิพลในท่ามกลางผู้คนภูเขาลัวะ(ละว้า)ของไทยเหนือ ยิ่งไปกว่านั้นเขามีทหารรับจ้างจากกลุ่ม (หรือหลายกลุ่ม) ผู้ที่ถูกอธิบายว่าเป็นเหมือนกับ “ผ้าโพกสีแดง” (หัวแดง) และเหมือนกับว่าดำรงอยู่จากผาปูน (เมืองถลางในพงศาวดารไท) ในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นรัฐกะเหรี่ยงของพม่า ในข้อความที่ตัดตอนจากพงศาวดารไทเหนืออ้างอิงถึงผู้ติดตามของอุปราชค้อนเคียว ณ ช่วงเวลานี้ (1783) หลังจากค้อนเคียตาย ซึ่งพวกเขาถูกบ่งชี้ว่าเป็น “กะเหรี่ยง” (ยาง) (Prachkitcakoracak 1964: 452; Sanguan 1972B: 128) เราจะเหลือการเปิดสำหรับคำถามชั่วคราวในประเภทชนิดของกะเหรี่ยงที่พวกเขาเป็นอยู่

ในปี 1775 พระยาข้าบ้าน ผู้ปกครองเชียงใหม่ได้ฆ่าอุปราชค้อนเคียวหลานชายตาย อย่างชัดเจนว่าเนื่องจากเขาจัดหาเสบียงสำหรับทหารที่พัวพันในการต่อสู้กับพม่าได้ล่าช้า กะเหรี่ยง “ผ้าโพกแดง” ทหารรับจ้างจึงหนีไปนับแต่นั้น บางอย่างดำเนินไปสอดคล้องกับพงศาวดารที่เมืองพน, เมืองยวม และท่าตาฝั่งในฝั่งตะวันออกของสาละวินและบางส่วนข้ามผ่านสาละวินไปยังท่าสิทโธ, ท่าสิทเธ, บ้านแม่ป่าผากุ และเมืองถลาง (Prachkitcakoracak 1964: 452; Sanguan 1972B: 129) ที่นี่พวกเขายังคงอยู่จนกระทั่งปี 1783 เมื่อพวกเขาเริ่มปรากฎขึ้นครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยเหนือ

ระหว่างปี 1775 และ 1779 พระยาข้าบ้านไม่เคยสามารถที่จะได้รับอำนาจตัดสินใจอิสระในการดำเนินการรบทำสงครามกับพม่า ในปี 1779 เขาถูกเรียกไปกรุงเทพฯที่พระเจ้าตากสินได้จองจำเขา อย่างชัดแจ้งว่าเพราะการฆาตกรรมค้อนเคียว ข้าบ้านตายในคุกช่วงสั้นๆภายหลังจากรัชกาลที่ 1 ขึ้นครองราชบัลลังก์ ในปี 1782 กษัตริย์สยามองค์ใหม่ได้แต่งตั้งกาวิละ ซึ่งก่อนหน้านี้ปกครองลำปางและเป็นหลานของข้าบ้าน ไปเป็นผู้ปกครองเชียงใหม่

กาวิละได้ติดตามแบบอย่างของข้าบ้านและสร้างเมืองของเขา ณ พื้นที่อื่นมากกว่าเมืองเชียงใหม่ ในกรณีนี้ที่พระแสงในจังหวัดลำพูนปัจจุบัน อย่างไรก็ตามกาวิละมีเจตนาแน่วแน่ในการฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่เป็นเหมือนกับเมืองหลวงของรัฐที่สร้างขึ้นใหม่ กาวิละได้พบกับสองปัญหาสำคัญ อย่างแรกและเร่งด่วนที่สุด คือการป้องกันชายแดนของเขา พม่ารุกรานได้ห่างไกลจากการเสื่อมจมลง รวมทั้งเขาอาจจะเคยเกี่ยวพันนอกจากนี้กับการปฏิวัติต่อต้านพม่าที่ล้มเหลวในช่วงปี 1782 และ 1783 โดยชานและกะเหรี่ยงภายใต้ sawbwa ของเมืองไพ่

ปัญหาอย่างที่สองของกาวิละ คือ การมีคนอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรของเขาน้อยกว่าที่ต้องการเป็นผลเกี่ยวข้องกับทั้งโดยการทำลายจากสงครามกับพม่า และโดยการเคลื่อนย้ายของผู้คนจากดินแดนหนึ่งไปยังพม่า (โดยหลักสำคัญเป็นเหมือนผลสืบเนื่องของการเทครัว) หรือไกลห่างออกไปจากบริเวณที่กองทัพพม่าใช้เดินทางผ่านเป็นประจำ ซึ่งในความพยายามของเขาที่จะเอาชนะทั้งสองปัญหานี้ กาวิละได้สถาปนาความสัมพันธ์ขึ้นใหม่กับกะเหรี่ยง

ในปี 1783 กาวิละได้ส่งตัวแทนเพื่อไปรับรองความจงรักภักดีของผู้คนที่ยึดครองอำนาจท้องถิ่นในดินแดนตามชายแดนด้านตะวันออก ซึ่งในช่วงเวลานี้แม่น้ำสาละวินได้ปรากฎขึ้น เขาได้ส่งกองกำลังขนาดเล็กไปในบริเวณเดียวกันด้วยและข้ามผ่านสาละวินออกไปเพื่อยึดครองหรือชักชวนผู้คนที่นั่นให้เคลื่อนยายไปสู่ขอบเขตการปกครองของเขาที่สันนิษฐานได้ว่าในหุบเขาแม่ปิงและรอบๆภูเขา การติดตามบันทึกจากพงศาวดารเชียงใหม่อธิบายการติดต่อในปี 1783 ระหว่างตัวแทนของกาวิละและกะเหรี่ยงของอาณาบริเวณชายแดนตะวันออกว่า

ในจุลศักราชที่ 1445 หรือปี ka-mao 1783 นั้น เจ้าเมืองผู้ที่เป็นหัวหน้า (กาวิละ)และเจ้าเมืองอื่นอีกสามคน เป็นตัวแทนพระยา Samlan นำผู้ติดตามอีก 30 คน และได้มอบถ้วยชามลายครามที่ตกแต่งอย่างสวยงาม 40 ชิ้น ให้แก่กะเหรี่ยงกาง (ผู้ที่สวมใส่) ผ้าโพกหัวกับเส้นไหมเงิน และผู้ที่เป็นหัวหน้าชายแดน (หัวแดน) กะเหรี่ยงที่โพกผ้ากับไหมเงินเป็นตัวแทนโดยให้ของขวัญเหล่านี้เพื่อสัมพันธไมตรี ( “น้ำใจ”) กับพระยาสามลาน(หัวหน้ากะเหรี่ยงที่นำไปขณะนั้น) ผู้ลอบกระทำการโจมตีหมู่บ้านของตองโปและตองปู ซึ่งประชากรของเขาถูกส่งไปยังเมืองหลวง นี่เป็นช่วงแรก

ในเวลาเดียวกัน (กาวิละ) ออกคำสั่งให้ข้าอุปราชและข้ารัตน์หัวเมืองเคียวส่งข้อความเพื่อชักชวนฟ้าน้อยมอท (Fa Noi Mot) ของเมืองถลาง (ผาปูน) (เพื่อให้ตัวเขาเข้าร่วมกับกาวิละ) (การทูตครั้งแรกนี้) นำเอาชามและเสื้อผ้าที่ตกแต่งอย่างสวยงาม 30 ชิ้น มอบให้แก่กางเสนหลวง (Kang Saen Luang) หัวหน้ากะเหรี่ยง (ยาง) ชายแดนในฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน กางเสนหลวงตกลงยอมรับ (…เพื่อเป็นน้ำใจ) ที่จะส่งข้อความแก่ฟ้าน้อยมอท ฟ้าน้อยมอทเต็มใจที่จะมอบความจงรักภักดีของเขา (ต่อกาวิละ) ตัวแทนทูตได้ส่งฟ้าน้อยทอทไปยังเมืองหลวง ซึ่งครั้งนี้เป็นช่วงที่สอง

กาวิละและเจ้าเมืองสามองค์ ซึ่งอ่อนวัยกว่าเป็นคนฉลาด พวกเขากล้านำเอาศัตรูที่จับได้ไปและขยายอาณาเขตแดนของพวกเขา การดำรงอาณาเขตเล็กๆเป็นปกติธรรมดาที่วพวกเขาได้ตกลงใจที่จะทำให้หมูบ้านเล็กใหญ่และอาณาเขตปกครองทั้งหมดที่เป็นเมืองขึ้นของ Ava และทำให้ผลเมืองของเขาจงรักภักดีอย่างแน่นแฟ้นต่อหมู่บ้านและอาณาเขตปกครองด้วยตัวของพวกเขาเอง

ณ ช่วงเวลาที่ (กาวิละ) แต่งตั้ง Nai Cantharecha ซึ่งเป็นทหารของกองกำลังหนึ่งที่โจมตีและยึดกุมบ้านท่าฝั่งบนฝั่งด้านตะวันออกของสาละวินและจับกุมพ่อเมืองของเมืองตู และพ่อเมืองของเมืองกิติ พ่อเมืองของเมืองยาน Acan Nan Tho และขับดันประชากรของเขตนี้กลับไปยังประเทศ (ของเชียงใหม่) (แสงกวน 1972B: แปลเอง)

ในบริบทนี้ เราสามารถกล่าวได้ขณะนี้ว่าบางสิ่งที่เกี่ยวข้องกับกะเหรี่ยง ปรากฎขึ้นครั้งแรกราวกับทหารรับจ้างในช่วงกลาง ค.ศ. 1770 ภายใต้อุปราชของเชียงใหม่และกะเหรี่ยงผู้ที่ต่อมาในปีพ.ศ. 1783 ถูกนำภายใต้ดารควบคุมของกาวิละ ซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ อย่างชัดเจนในพื้นฐานของการกำหนดตำแหน่งด้วย “ผ้าโพกแดง” Brailey (1970:40) ได้บ่งชี้ว่าทหารรับจ้างเหล่านี้เป็น “กะเหรี่ยงแดง” นั่นคือ คะยาห์ การบ่งชี้จำแนกพบการสนับสนุนในการสร้างลักษณะพิเศษของคะยาห์โดย A.W. Moore ผู้เขียนถึงพวกเขาในปี 1879 เหมือนกับผู้คนที่ “สวมผ้าโพกแดงและเสื้อสีแดง” (1879:1)

อย่างไรก็ตาม จากบริเวณพื้นที่ซึ่งผู้คนถูกกล่าวว่าได้กลายเป็นรัฐกะเหรี่ยงอย่างที่เห็นชัดในปัจจุบัน และผู้อาศัยดั้งเดิม คือ กะเหรี่ยงสกอร์และโปว ซึ่งไม่ใช่รัฐคะยาห์ในปัจจุบัน นอกจากนี้ในส่วนของยางแดงไม่ได้ปรากฎในข้อความพิจารณามากไปกว่านี้ แม้ว่าการอ้างอิงในพงศาวดารยวนต่อมานั้น มันถูกใช้เมื่อคะยาห์ได้ถูกกล่าวถึง

ทั้งหมดนี้ เราสามารถกล่าวได้ว่า ผู้พูดภาษากะเหรี่ยงบางกลุ่มที่ถูกใช้เป็นเหมือนทหารรับจ้างโดยยวนในปี 1770 และในปี 1783 ผู้นำของชุมชนกะเหรี่ยงค่อนข้างเล็ก (ผู้ที่ในกรณีนี้ ฉันสงสัยว่าเป็นสกอร์) อาศัยอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน เป็นที่ยอมรับว่าสถานะขุนนางของกาวิละเจ้าเมืองเชียงใหม่ ดังที่ผู้ปกครองเมืองป่าปูนเป็นด้วยเช่นกัน นัยความหมายสำคัญไม่ได้บ่งชี้ว่าเป็นกะเหรี่ยง กะเหรี่ยงบางกลุ่ม (เป็นไปได้ว่าสกอร์) ถูกบังคับย้ายถิ่นไปพร้อมกับผู้คนตามชายแดนกลุ่มอื่นๆ ในใจกลางแผ่นดินเชียงใหม่ ฉันคาดเดาว่า กะเหรี่ยงที่อพยพเหล่านี้อาจจะเป็นบรรพบุรุษของประชากรสกอร์ที่อาศัยในปัจจุบันในภูเขาที่ขนาบข้างหุบเขาปิง

ถึงแม้ว่ากาวิละและน้องชายของเขาอาจมีทั้งความฉลาดหลักแหลมและความพยายามในการส่งตัวแทนข้ามแม่น้ำสาละวินไปเอาชนะเหนือผู้คนเหล่านี้ที่อดีตเคยอยู่ภายใต้พม่า (อย่างน้อยที่สุดก็ในนาม) พม่าไม่ได้ยอมแพ้ มันเรียกร้องต่ออำนาจเหนือผู้คนอื่นเหล่านี้ หรือเหนือไทยตอนเหนืองในตัวของมันเอง ในปี 1784 การปฏิบัติการทางทหารพม่าครั้งสำคัญอีกครั้ง ถูกดำเนินการในไทยตอนเหนือ และสำหรับสองทศวรรษต่อมามีสงครามเกือบจะตลอดเวลาในดินแดนระหว่างพม่ากับเชียงแสน ซึ่งเป็นพันธมิตรยวนของพวกเขาในด้านหนึ่ง และสยามกับพันธมิตรยวนที่นำโดยเชียงใหม่ในอีกด้านหนึ่ง

แม้ว่าพม่าไม่เคยจะประสบผลสำเร็จอีกในการสถาปนาการควบคุมของพวกเขาขึ้นใหม่เหนือดินแดนทั้งหมดนี้ แต่พวกเขายังคงรักษาฐานที่มั่นในเชียงแสนจนกระทั่งปี 1804 เมื่อเชียงใหม่บุกโจมตียึดครองและทำลายเมืองนี้สำเร็จในที่สุด อิทธิพลของพม่าในไทยเหนือจบลงในที่สุด และผู้ปกครองเชียงใหม่ได้เริ่มเปลี่ยนเป้าหมายของเขาไปยังพรมแดนตะวันตก ในการกระทำเช่นนั้น ได้นำพวกเขาไปสู่การติดต่อกับคะยาห์หรือกะเหรี่ยงแดง ซึ่งได้ก่อรูปร่างการปกครองด้วยตัวพวกเขาเองขึ้นในอาณาบริเวณนี้

ประวัติศาสตร์การก่อตั้งรัฐคะเรนีหรือคะยาห์ และโดยเฉพาะการก่อตั้งรัฐคันทราวดีหรือคะเรนนีตะวันออกติดกับเชียงใหม่เป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ ซึ่งค่อนข้างจะเป็นที่คลุมเคลือซ่อนเร้น F.K. Lehman ซึ่งได้เตรียมการวิเคราะห์ที่ยอดเยี่ยมในจุดกำเนิดของรัฐคะยาห์ คาดคะเนว่า “ระบบคะยาห์เป็นจุดสุดยอดทางการเมืองของลัทธิกะเหรี่ยงพระศรีอาริย์ ที่เกิดขึ้นในปี 1820 (Lehman 1967B: 20) แม้ว่าการเห็นด้วยอย่างเต็มที่กับการสรุปของเขาในการพิจารณาลัทธิความเชื่อพระศรีอาริย์ แต่ฉันจะเสนอแนะอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานที่ฉันได้รวบรวมว่ายุคสมัยที่คันทราวดีถูกพบบางทีอาจเป็นสองหรือสามทศวรรษแรก พื้นฐานหลักสำคัญของฉันสำหรับการยืนยัน คือ สนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างเชียงใหม่กับคันทราวดีในปี 1809 หรือเริ่มต้น

สนธิสัญญานี้ปรากฎในทั้งคำอธิบายของยวนและในคำอธิบายที่ได้รับโดยคะยาห์บางคนที่ได้ให้สัมภาษณ์โดสมาชิกชาวอังกฤษของคณะกรรมการชายแดนระหว่างอังกฤษ-สยามในปี 1890 แม้ว่าหนึ่งในรายงานที่รวบรวมโดยสภาคณะกรรมการช่วงสมัยของมันราวปี 1790 ซึ่งข้อมูลยวนมันเป็นช่วงที่เกิดขึ้นในปีที่รัชกาลที่ 2 ขึ้นสู่ราชบัลลังก์สยามในปี 1809

« กะเหรี่ยง (Karen)


ยืนดีรับฟังทุกคอมเห็นนะคะ